วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประภทของคอมพิวเตอร์

       1.ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง มีขนาดของความจำมาก ตั้งอยู่ในห้องที่สามารถปรับอุณหภูมิได้ การใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มักในงานวิจัย เช่น การวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม การพยากรณ์อากาศ และงานอื่นๆที่มีการคำนวณซับซ้อน



       2.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพรองลงมาจากซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ท่สามารถเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ปลายทางได้จำนวนมาก ทำให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้พร้อมกันหลายร้อยคน จึงมักใช้ในองค์กรขนาดใหญ่







       3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดกลางที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ แต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ มักพบในองค์กรที่ใช้งานเฉพาะด้าน เช่น ประมวลผลงานบัญชี โดยนำไปเชื่อมต่อกับเครื่องปลายทางได้หลายคน โดยมีการประมวลผลที่อยู่ส่วนกลาง แล้วส่งผลไปที่เครื่องปลายทาง โดยที่เครื่องปลายทางไม่ต้องประมวลผลเอง



       4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย ทีทั้งคอมพิวตอร์ส่วนบุคคลแบบตั้งโต๊ะ ซึ่งเหมาะกับการทำงานในสำนักงาน สถานศึกษา ที่บ้าน หรือคอมพิวเตอร์แบบพกพาไปในสถานที่ต่างๆได้ เช่น  โน็ตบุคส์ เป็นต้น



5.โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่าแล็ปท็อป น้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี  โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือน
กับแล็ปท็อป


6.แท็บเล็ต ( Tablet ) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค พกพาง่าย น้าหนักเบา มีคีย์บอร์ด ( keyboard ) ในตัว หน้าจอเป็นระบบสัมผัส ( Touch-screen )ปรับหมุนจอได้อัตโนมัติ แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่าคอมพิวเตอร์พกพาทั่วไป ระบบปฏิบัติการมีทั้งที่เป็น Android IOS และ Windows ระบบการเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีทั้งที่เป็น Wi-Fi และ Wi-Fi + 3G 


7.สมาร์ทโฟน  (smartphone ) คือ โทรศัพท์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ ต่างๆได้  เสมือนยกเอาคุณสมบัติที่ PDA  และคอมพิวเตอร์มาไว้ในโทรศัพท์ เช่น iOS (ที่ลงในมือถือรุ่น Iphone) ,BlackBerry OS, Android OS ,Windows phone 7 และSymbian Os  (Nokia) เป็นต้น ซึ่งทำให้ สมาร์ทโฟน สามารถลงโปแกรมเพิ่มเติม (Application) ได้ 









ที่มา: http://www.oknation.net/blog/patumnafang/2012/08/28/entry-1




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น